คุณรู้จัก Blog นี้ได้อย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

AngZa: กฎหมายไทย

AngZa: กฎหมายไทย: "วิวัฒนาการกฎหมายไทย พระราชกำหนดบทพระอัยการของไทย ตามคำไทยแต่เดิม 'กฎหมาย' หมายแต่เพียงว่าเป็นคำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินที่โปรดให้กดไว้หมายไว..."

วันพุธที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กฎหมายไทย



วิวัฒนาการกฎหมายไทย

พระราชกำหนดบทพระอัยการของไทย
ตามคำไทยแต่เดิม "กฎหมาย" หมายแต่เพียงว่าเป็นคำสั่งของพระเจ้าแผ่นดินที่โปรดให้กดไว้หมายไว้เพื่อใช้บังคับเป็นการคงทนถาวร จะเห็นได้ในพงศาวดารเหนือ (ฉบับของพระวิเชียรปรีชา) ตอนที่พระยาพสุจราชแห่งราชวงศ์พระร่วงได้จัดการแต่งบ้านแต่งเมืองออกรับกองทัพพระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎก มีความว่า "แล้วให้กำหนดกฎหมายไว้ทุกหน้าด่าน แล้วให้กำหนดกฎหมายไปถึงเมืองกัมโพชนคร ให้กำหนดกฎหมายสืบ ๆ กันไปถึงเมืองคีรี เมืองสวางคบุรี เมือง... ฯลฯ"
[13] ในภาษาไทยแต่เดิม กฎหมายจึงหมายถึงคำสั่งที่ได้กดไว้หมายไว้ให้เป็นที่แน่นอนเท่านั้น ทั้งนี้ คำว่า "กฎหมาย" เป็นคำกริยา ซึ่งประกอบขึ้นจากกริยา "กฎ" มีความหมายว่า "จดบันทึก, จดไว้เป็นหลักฐาน, ตรา" อันเป็นคำที่มาจากภาษาเขมรว่า "กต่" มีความหมายว่า "จด" + นาม "หมาย" ซึ่งแปลว่า "หนังสือ"[1]
แต่โบราณกาล เพื่อให้คำสั่งอันเป็นกฎหมายเป็นของขลังและเป็นที่เคารพเชื่อฟัง จึงมักมีการอ้างเอาความศักดิ์สิทธิ์แห่งสรวงสวรรค์ว่าเป็นที่มาของกฎหมายหรือเป็นที่มาของอำนาจที่ใช้ออกกฎหมาย เช่น ของอังกฤษ ในตอนต้นของกฎหมายมักเขียนว่า "อาศัยพระราชอำนาจอันทรงได้รับประทานจากเทพยุดาฟ้าดิน สมเด็จพระราชินีนาถจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราขึ้นไว้ดังต่อไปนี้" (
อังกฤษ: The Queen, by the Grace of God, enacts as follows:)
ถึงแม้ว่าชั้นเดิม กษัตริย์จะชื่อว่าเป็นรัฏฐาธิปัตย์คือมีอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน แต่การจะสั่งให้เป็นกฎหมายนั้นก็ต้องอาศัยอ้างเหตุอ้างผลเพื่อให้คนทั้งหลายเห็นว่าเป็นคำสั่งที่เป็นธรรม เหตุผลที่ยกขึ้นส่วนมากคือจารีตประเพณี เช่น กฎหมายไทยที่ว่า "อันว่าสาขคดีทั้งหลายดั่งพรรณนามานี้ อันบูราณราชกษัตริย์มีบุญญาภินิหารสมภารบารมีเป็นอธิบดีประชากร ผจญข้าศึกเสร็จแล้ว แลเป็นอิสรภาพในบวรเศวตรฉัตร ประกอบด้วยศีลสัจวัตรปฏิบัติเป็นอันดี...ทรงพระอุตสาหะพิจารณาคำนึงตามคัมภีร์พระธรรมศาสตร์ แล้วมีพระราชบัญญัติดัดแปลงตกแต่งตั้งเป็นพระราชกำหนดบทพระอัยการไว้โดยมาตราเป็นอันมาก...มาตราบเท้าทุกวันนี้"
[13]
สำหรับประเทศไทยนั้นเดิมทีมีกฎหมายฉบับหนึ่งซึ่งเรียกเป็นการทั่วไปว่า "พระอัยการ" เป็นกฎหมายแม่บทเสมอรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน พระอัยการนี้ต่อมารู้จักกันในชื่อ "
กฎหมายตราสามดวง" ซึ่งเป็นกฎหมายที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกโปรดให้ชำระขึ้นใหม่เพราะของเก่าล้วนสูญหายไปเมื่อตอนกรุงศรีอยุธยาแตกก็มี วิปริตผิดเพี้ยนไปก็มี เป็นต้น แต่พระอัยการนั้นพึงเข้าใจว่าเป็นกฎหมายก่อนกฎหมายตราสามดวง แต่มีวิวัฒนาการไปเป็นกฎหมายตราสามดวง
พระอัยการดังกล่าวมีที่มาจากคัมภีร์
มนูธรรมศาสตร์ของอินเดีย เนื่องจากเชื่อกันมาพระอัยการนี้เป็นของที่เทวดาบัญญัติขึ้น และจารึกไว้ที่กำแพงจักรวาลตรงสุดป่าหิมพานต์ มนุษย์เราเพียงแต่ไปพบมา จึงเป็นของศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง จะแก้ไข เปลี่ยนแปลง ยกเลิก หรือเพิ่มเติมอย่างไรไม่ได้ทั้งสิ้น หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช อธิบายเกี่ยวกับระบบกฎหมายเก่าของไทยว่า[14


วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พยากรณ์อากาศจังหวัดระนอง




ภูมิอากาศจังหวัดระนอง
ขนาดและที่ตั้ง
จังหวัดระนองเป็นจังหวัดทางภาคใต้ ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลตะวันตกของประเทศไทย ที่ละติจูด 9 58 เหนือ ลองจิจูด 98 38 ตะวันออก อยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 580 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 3,425 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อบริเวณใกล้เคียงดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อจังหวัดชุมพรและประเทศสหภาพพม่า
ทิศใต้ ติดต่อจังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดพังงา
ทิศตะวันออก ติดต่อจังหวัดชุมพร
ทิศตะวันตก ติดต่อแม่น้ำกระบี่ซึ่งกั้นพรมแดนระหว่างประเทศไทยกับประเทศสหภาพพม่าและมหาสมุทรอินเดีย
ภูมิประเทศ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของจังหวัดระนองเป็นภูเขา ซึ่งลาดจากทิศตะวันออกลงสู่มหาสมุทรอินเดียทางทิศตะวันตก มีพื้นที่ราบบ้างเล็กน้อยตามชายฝั่งมหาสมุทรอินเดีย และบริเวณ 2 ฝั่งของแม่น้ำต่าง ๆ ในจังหวัด ตามชายฝั่งมีเกาะเล็กเกาะน้อยประมาณ 60 เกาะ
ฤดูกาล
ฤดูกาลของจังหวัดระนองแบ่งตามลักษณะลมฟ้าอากาศของประเทศไทยออกได้เป็น 3 ฤดูคือ
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม ระยะนี้เป็นช่วงว่างของฤดูมรสุม จะมีลมจากทิศตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุม ทำให้อากาศร้อนทั่วไป อากาศจะร้อนจัดที่สุดในเดือนเมษายน แต่ไม่ร้อนมากนักเนื่องจากภูมิประเทศเป็นคาบสมุทรอยู่ใกล้ทะเล กระแสลมและไอน้ำจากทะเลทำให้อากาศคลายความร้อนลงไปมาก
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม จะมีลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทย และร่องความกดอากาศต่ำจะพาดผ่านภาคใต้เป็นระยะ ๆ อีกด้วย จึงทำให้มีฝนตกมากตลอดฤดูฝน และเดือนสิงหาคมจะมีฝนตกชุกที่สุดในรอบปี
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในระยะนี้จะมีลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเย็นและแห้งจากประเทศจีนพัดปกคลุมประเทศไทย ทำให้อุณหภูมิลดลงทั่วไปและมีอากาศหนาวเย็น แต่เนื่องจากจังหวัดระนองอยู่ใกล้ทะเล อุณหภูมิจึงลดลงเล็กน้อยเป็นครั้งคราว อากาศจึงไม่หนาวเย็นมากนัก และตามชายฝั่งมีฝนตกทั่วไป แต่มีปริมาณไม่มาก
ลักษณะอากาศทั่วไป
เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ทางภาคใต้ด้านฝั่งตะวันตกได้รับอิทธิพลของลมมรสุมลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อย่างเต็มที่ จึงมีฝนตกชุกหนาแน่นกว่าจังหวัดอื่น ๆ และตกเกือบตลอดปี ส่วนฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัดเพราะอยู่ไกลจากอิทธิพลของอากาศหนาวพอสมควร แต่บางครั้งอาจมีฝนตกได้ เนื่องจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดผ่านอ่าวไทยพาเอาฝนมาตก แต่มีปริมาณน้อยกว่าจังหวัดที่อยู่ทางด้านตะวันออกของภาคใต้
อุณหภูมิ
เนื่องจากเป็นจังหวัดที่ตั้งอยู่ในคาบสมุทรที่มีแหลมยื่นออกไปในทะเล จึงได้รับมรสุมอย่างเต็มที่ คือมรสุมตะวันตกเฉียงใต้จากมหาสมุทรอินเดียและมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือจากทะเลจีนใต้ และอ่าวไทย ทำให้ได้รับไอน้ำและความชุ่มชื้นมากอุณหภูมิเฉลี่ยจึงไม่สูงมาก และอากาศไม่ร้อนจัดในฤดูร้อน อากาศจะอบอุ่นในช่วงฤดูฝน ส่วนฤดูหนาวอากาศจะเย็นในบางครั้ง อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 26.5ซ. อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ย 31.4ซ. อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.3ซ. เดือนเมษายนเป็นเดือนที่มีอากาศร้อนจัดที่สุด เคยตรวจอุณหภูมิสูงที่สุดได้ 39.6 ซ. เมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2526 และเคยตรวจอุณหภูมิต่ำที่สุดได้ 13.7 ซ. เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2499
ความชื้นสัมพัทธ์
ความชื้นสัมพัทธ์สัมพันธ์กับมวลอากาศและอิทธิพลของลมมรสุมเป็นสำคัญ ตลอดทั้งปีจังหวัดระนองจะมีความชื้นสัมพัทธ์อยู่ในเกณฑ์สูง เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากมรสุมทั้งสองฤดูอย่างเต็มที่ มรสุมทั้งสองนี้ก่อนจะพัดเข้าสู่บริเวณจังหวัดได้ผ่านทะเลและมหาสมุทรจึงได้พัดเอาไอน้ำและความชุ่มชื้นมาด้วย ทำให้บริเวณจังหวัดมีความชุ่มชื้นและความชื้นสัมพัทธ์สูงเป็นเวลานาน ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีประมาณ 83 % ความชื้นสัมพัทธ์สูงสุดเฉลี่ย 96 % ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำสุดเฉลี่ย 68 % เคยตรวจความชื้นสัมพัทธ์ต่ำที่สุดเคยตรวจได้ 28 % ในเดือนมกราคม
ฝน
เนื่องจากจังหวัดระนองอยู่ทางด้านฝั่งตะวันตกของภาคใต้ซึ่งรับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้อย่างเต็มที่ในฤดูฝน จังเป็นจังหวัดที่มีฝนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ส่วนในฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือมีฝนตกน้อยเนื่องจากทิวเขาด้านตะวันออกของภาคใต้ปิดกั้นลมไว้ ปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 4,275.4 มิลลิเมตร มีฝนตกประมาณ 203 วัน เดือนที่มีฝนตกมากที่สุดคือเดือนสิงหาคม มีฝนเฉลี่ย 794.1 มิลลิเมตร ฝนตกเฉลี่ย 27 วัน ฝนสูงสุดใน 24 ชั่วโมง เคยตรวจได้ 460.9 มิลลิเมตร ในวันที่ 22 มิถุนายน 2513
จำนวนเมฆ
ตลอดทั้งปีจะมีจำนวนเมฆเฉลี่ยประมาณ 6 ส่วนของจำนวนเมฆในท้องฟ้า 8 ส่วน โดยในฤดูร้อนเมฆประมาณ 4 ส่วน ฤดูฝนประมาณ 7 ส่วน ฤดูหนาวประมาณ 5 ส่วน
หมอก ฟ้าหลัว และทัศนวิสัย
โดยเฉลี่ยแล้วจังหวัดระนองมีโอกาสเกิดหมอกได้เกือบทุกเดือนประมาณเดือนละ 1 - 4 วัน เดือนพฤษภาคมเป็นเดือนที่เกิดหมอกมากที่สุดประมาณ 5 วัน วันที่เกิดหมอกทัศนวิสัยจะเลวเห็นได้ไม่เกิน 1 กิโลเมตร ส่วนฟ้าหลัวเกิดได้ทุกเดือน เดือนมกราคมถึงเมษายนเกิดมากประมาณเดือนละ 15 – 21 วัน ส่วนเดือนอื่น ๆ จะเกิดได้ประมาณ 4 – 8 วัน วันที่มีฟ้าหลัวทัศนวิสัยจะเห็นได้ไกลประมาณ 6 กิโลเมตร ทัศนวิสัยเฉลี่ยเวลา 07.00 น. จะเห็นได้ไกลประมาณ 7 กิโลเมตร และทัศนวิสัยเฉลี่ยตลอดวันประมาณ 9 กิโลเมตร
ลม
ระบบหมุนเวียนของลมในจังหวัดระนองมีความชัดเจนดี เดือนตุลาคมถึงธันวาคมจะเป็นลมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังลมเฉลี่ย 7 - 9 กม./ชม. เดือนมกราคมถึงกุมภาพันธ์จะเป็นลมทิศตะวันออก กำลังลมเฉลี่ย 7 - 9 กม./ชม. เดือนมีนาคมถึงเมษายนจะเป็นลมทิศตะวันออกเฉียงเหนือ กำลังลมเฉลี่ย 7 – 9 กม./ชม. เดือนพฤษภาคมถึงกันยายนจะเป็นลมทิศใต้ กำลังลมเฉลี่ย 7 – 11 กม./ชม. กำลังลมสูงสุดในแต่ละฤดูมีดังนี้ ฤดูร้อนเคยตรวจลมสูงที่สุดได้ 65 กม./ชม. เป็นลมทิศตะวันออกในเดือนเมษายน ฤดูฝนเคยตรวจลมสูงที่สุดได้ 111 กม./ชม. เป็นลมทิศตะวันตกในเดือนตุลาคม และฤดูหนาวเคยตรวจลมสูงที่สุดได้ 89 กม./ชม. เป็นลมทิศตะวันออกค่อนไปทางเหนือเล็กน้อยในเดือนมกราคม
พายุหมุนเขตร้อน
พายุหมุนเขตร้อนที่ผ่านบริเวณภาคใต้และทำความกระทบกระเทือนให้กับจังหวัดระนอง ส่วนมากเป็นพายุดีเปรสชั่นที่มีกำลังอ่อน ซึ่งเกิดจากทะเลจีนใต้และมหาสมุทรแปซิฟิคและมีส่วนน้อยที่เกิดจากทางมหาสมุทรอินเดีย พายุดีเปรสชั่นหรือพายุโซนร้อนที่เคลื่อนตัวเข้าสู่ภาคใต้เกือบทุกครั้งจะทำความกระทบกระเทือนให้กับจังหวัดระนองด้วย คือทำให้ฝนตกหนัก ลมกระโชกแรงและเกิดสภาวะน้ำท่วมฉับพลันขึ้นได้ กำลังแรงของลมและคลื่นในทะเลจะทำอันตรายแก่เรือในทะเล และอาคารบ้านเรือนที่อยู่ตามชายฝั่งทะเลได้ พายุหมุนที่มีความรุนแรงและทำความเสียหายแก่ภาคใต้เป็นบริเวณกว้างและจังหวัดระนองที่ผ่านมาได้แก่พายุโซนร้อน “ฮาเรียต” ซึ่งก่อตัวขึ้นในทะเลจีนใต้ใกล้ปลายแหลมญวน เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2505 แล้วเคลื่อนตัวเข้าสู่อ่าวไทยพร้อมทวีความรุนแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้เคลื่อนตัวผ่านจังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และจังหวัดสงขลา ระหว่างวันที่ 25 – 26 ตุลาคม 2505 ลงสู่ทะเลอันดามัน พายุนี้ได้ทำความเสียหายเกือบทุกจังหวัดในภาคใต้ โดยมีผู้เสียชีวิตถึง 935 คน และบาดเจ็บ 445 คน ทรัพย์สินของราชการและเอกชนเสียหายคิดเป็นมูลค่าถึง 1,320 ล้านบาท นับเป็นความเสียหายจากภัยธรรมชาติที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศไทย และเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2515 พายุดีเปรสชั่นซึ่งอ่อนกำลังลงจากพายุไต้ฝุ่น “แซลลี่” ผ่านเข้ามาในจังหวัดระนอง ทำให้มีฝนตกหนักใน 24 ชั่วโมงวัดจำนวนได้ 94.0 มิลลิเมตร
ที่ตั้งของสถานีตรวจอากาศระนองและการตรวจธาตุประกอบอุตุนิยมวิทยา
สภาวะอากาศที่ได้จัดทำขึ้นนั้ได้มาจากผลการตรวจของสถานีตรวจอากาศระนอง ซึ่งได้ทำการตรวจธาตุประกอบอุตุนิยมวิทยาต่าง ๆ แล้วส่งรายงานผลการตรวจไปยังกรมอุตุนิยมวิทยา เพื่อรวบรวมและจัดทำข้อมูลในคาบ 30 ปี
สถานีตรวจอากาศหัวหินตั้งอยู่ที่ถนนจัดสรรพัฒนา ต.บางริ้น อ.เมือง จ.ระนอง อยู่ใกล้ด่านป่าไม้จังหวัดระนอง หรือที่ละติจูด 9 58 เหนือ ลองจิจูด 98 38 ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 7 เมตร ทำการตรวจธาตุประกอบอุตุนิยมวิทยา วันละ 8 เวลา คือ 01.00, 04.00, 07.00, 10.00, 13.00, 16.00, 19.00 และ 22.00 น.

ปรัชญา เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า 25 ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำ แนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลง
มีหลักพิจารณา ดังนี้
กรอบแนวคิด เป็นปรัชญาที่ชี้แนะแนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตนในทางที่ควรจะเป็นโดยมีพื้นฐานมาจากวิถีชีวิตดั้งเดิมของสังคมไทย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดเวลา และเป็นการมองโลกเชิงระบบที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา มุ่งเน้นการรอดพ้นจากภัยและวิกฤติ เพื่อความมั่นคงและความยั่งยืนของการพัฒนา
คุณลักษณะ เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติตนได้ในทุกระดับ โดยเน้นการปฏิบัติบนทางสายกลาง และการพัฒนาอย่างเป็นขั้นตอน
คำนิยาม ความพอเพียงจะต้องประกอบด้วย 3 คุณลักษณะพร้อม ๆ กัน ดังนี้
1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกิดไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับของความพอเพียงนั้นจะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้องตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้น ๆ อย่างรอบคอบ
3. การมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบ และการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นโดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่าง ๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตทั้งใกล้และไกล
เงื่อนไข การตัดสินใจและการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียงนั้น ต้องอาศัยทั้งความรุ้ และคุณธรรมเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ
1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่าง ที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในขั้นปฏิบัติ
2. เงื่อนไขความธรรม ที่จะต้องเสริมสร้างประกอบด้วย มีความตระหนักในคุณธรรม มีความชื่อสัตย์สุจริต และมีความอดทน มีความพากเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
แนวทางปฏิบัติ/ผลที่คาดว่าจะได้รับ จากการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ คือ การพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืน พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคมสิ่งแวดล้อม ความรู้และเทคโนโลยี

ข่าวกฎหมาย





กระทรวง พลังงาน ออก กฎหมาย ควบคุม อาคาร
อนุรักษ์ พลังงาน ฉบับ ใหม่
กระทรวง พลังงาน ออก กฎ กระทรวง กำหนด ประเภท
หรือ ขนาด ของ อาคาร และ มาตรฐาน หลัก เกณฑ์ และ
วิธี การ ใน การ ออกแบบ อาคาร เพื่อ การ อนุรักษ์ พลังงาน
พ . ศ . 2552 ซึ่ง จะ มี ผล บังคับ ใช้ ตั้งแต่ วัน ที่ 22 มิถุนายน
2552 เป็นต้น ไป
ใน กฎ กระทรวง นี้ อาคาร ประเภท สถาน พยาบาล ,
สถาน ศึกษา , สำนักงาน , อาคาร ชุด , อาคาร ชุมนุม
คน , โรง มหรสพ , โรงแรม , สถาน บริการ และ ศูนย์การค้า
ที่ มี พื้นที่ ตั้งแต่ 2,000 ตาราง เมตร ขึ้น ไป ต้อง มี การ
ออกแบบ เพื่อ การ อนุรักษ์ พลังงาน ตาม กฎ กระทรวง นี้
โดย มี มาตรฐาน และ หลัก เกณฑ์ ที่ น่า สนใจ เช่น
- ค่า การ ถ่ายเท ความ ร้อน รวม ของ ผนัง ด้าน นอก ของ
อาคาร ( OTTV ) จาก เดิม ที่ มี การ กำหนด ไว้ สำหรับ
อาคาร ทุก ประเภท ไม่ เกิน 45 วัตต์ ต่อตา ราง เมตร ใน
กฎ กระทรวง ฉบับ ใหม่ นี้ แยก กำหนด ตาม ประเภท
อาคาร ดังนี้
1 ) สถาน ศึกษา และ สำนักงาน ไม่ เกิน 50 วัตต์ ต่อ
ตาราง เมตร
2 ) โรง มหรสพ ศูนย์การค้า สถาน บริการ และ อาคาร
ชุมนุม คน ไม่ เกิน 40 วัตต์ ต่อตา ราง เมตร
3 ) โรงแรม สถาน พยาบาล และ อาคาร ชุด ไม่ เกิน 30
วัตต์ ต่อตา ราง เมตร
- ค่า การ ถ่ายเท ความ ร้อน รวม ของ หลังคา อาคาร ( RTTV )
จาก เดิม กำหนด ไว้ สำหรับ อาคาร ทุก ประเภท ไม่ เกิน 25
วัตต์ ต่อตา ราง เมตร ใน กฎ กระทรวง ฉบับ นี้ แยก กำหนด
ตาม ประเภท อาคาร ดังนี้
1 ) สถาน ศึกษา และ สำนักงาน ไม่ เกิน 15 วัตต์ ต่อ
ตาราง เมตร
2 ) โรง มหรสพ ศูนย์การค้า สถาน บริการ และ อาคาร
ชุมนุม คน ไม่ เกิน 12 วัตต์ ต่อตา ราง เมตร
3 ) โรงแรม สถาน พยาบาล และ อาคาร ชุด ไม่ เกิน 10
วัตต์ ต่อตา ราง เมตร
- ค่า กำลัง ไฟฟ้า ส่อง สว่าง สูงสุด
1 ) สถาน ศึกษา และ สำนักงาน ไม่ เกิน 14 วัตต์ ต่อตา ราง
เมตร ( เดิม ไม่ เกิน 16 วัตต์ ต่อตา ราง เมตร )
2 ) โรง มหรสพ ศูนย์การค้า สถาน บริการ และ อาคาร
ชุมนุม คน ไม่ เกิน 18 วัตต์ ต่อตา ราง เมตร ( เดิม ไม่ เกิน
23 วัตต์ ต่อตา ราง เมตร )
3 ) โรงแรม สถาน พยาบาล และ อาคาร ชุด ไม่ เกิน 12 วัตต์
ต่อตา ราง เมตร ( เดิม ไม่ เกิน 16 วัตต์ ต่อตา ราง เมตร )
- ค่า สัมประสิทธิ์ สมรรถนะ ขั้น ต่ำ ค่า ประสิทธิภาพ การ
ให้ ความ เย็น และ ค่า พลัง ไฟฟ้า ต่อ ตัน ความ เย็น ของ
ระบบ ปรับ อาคาร ให้ เป็น ไป ตาม ที่ ประกาศ กำหนด
นอกจาก นี้ ใน กรณี ที่ มี การ ออกแบบ ระบบ ไฟฟ้า
แสง สว่าง ของ อาคาร ใน พื้นที่ ตาม แนว กรอบ อาคาร
ให้ สามารถ ใช้ แสง ธรรมชาติ ให้ ถือว่า ไม่มี การ ติด ตั้ง
อุปกรณ์ ไฟฟ้า แสง สว่าง ใน พื้นที่ ตาม แนว กรอบ อาคาร
นั้น โดย ต้อง แสดง ให้ เห็น ชัดเจน ว่า ได้ มี การ ออกแบบ
สวิตช์ ของ อุปกรณ์ ไฟฟ้า แสง สว่าง ที่ ใช้ กับ พื้นที่ ตาม
แนว กรอบ อาคาร ที่ มี ระยะ ห่าง จาก กรอบ อาคาร ไม่ เกิน
1.5 เท่า ของ ความ สูง ของ หน้าต่าง
( ที่มา www . asa . or . th )
สผ . ขีด เส้น คอน โด 4 พัน ตร . ม . ทำ อี ไอ เอ
แหล่ง ข่าว จาก สำนัก นโยบาย และ แผน ทรัพยากร
ธรรมชาติ และ สิ่ง แวดล้อม ( สผ . ) เปิด เผย ใน อีก 1 - 2
เดือน นับ จาก นี้ สผ . เตรียม บังคับ ใช้ ร่าง ประกาศ กระทรวง
ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่ง แวดล้อม เกี่ยว กับ ขนาด และ
ประเภท ของ อาคาร โครงการ ที่พัก อาศัย โรงแรม รีสอร์ท
ที่ ต้อง ทำ รายงาน การ วิเคราะห์ ผลก ระ ทบ สิ่ง แวดล้อม
หรือ อี ไอ เอ ทั้งนี้ สาระ สำคัญ กำหนด ให้ โครงการ หรือ
กิจการ ประเภท บ้าน จัดสรร ขนาด 100 ไร่ ขึ้น ไป หรือ 250
แปลง ขึ้น ไป , อาคาร พาณิชย์ อพาร์ตเมนต์ อาคาร ชุด
โรงแรม ขนาด 80 ห้อง หรือ ตั้งแต่ 4,000 ตาราง เมตร
ขึ้น ไป , อาคาร สูง อาคาร ขนาด ใหญ่ พิเศษ ตามพ ระ ราช
บัญญัติ ( พ . ร . บ . ) ควบคุม อาคาร หรือ อาคาร สูง 23 ชั้น
และ มี ขนาด ตั้งแต่ 10,000 ตาราง เมตร ขึ้น ไป ต้อง ขอ
อนุญาตจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผ ลกระท บสิ่งแ วดล้อม
หรือ อี ไอ เอ จาก สผ . จาก เดิม ที่ กำหนด ให้ ห้อง ชุด 80
ห้อง ขึ้น ไป และ บ้าน จัดสรร 500 แปลง หรือ 100 ไร่
ขึ้น ไป ต้อง ทำ อี ไอ เอ เท่านั้น
อย่างไร ก็ ดี สผ . ต้องการ แก้ ปัญหา โครงการ เลี่ยง อี ไอ เอ
โดย เฉพาะ อาคาร ชุด ที่ ชอบ ขอ อนุญาต ก่อสร้าง โดย
ใช้ มาตรา 39 ทวิ ตาม กฎหมาย ควบคุม อาคาร ( ก่อสร้าง
ได้ ทันที หลัง ยื่น แจ้ง ต่อ เจ้า พนักงาน ) ไม่ เกิน 79 ห้อง
และ เมื่อ ก่อสร้าง ไป แล้ว ช่วง หนึ่ง จึง ยื่น ขอ แก้ไข แบบ
เพิ่ม จำนวน ห้อง จาก หน่วย งาน ท้อง ถิ่น ไป พร้อมๆ กับ
ยื่น ขอ อนุญาต อี ไอ เอ ภาย หลัง ทำให้ เกิด ปัญหา ตาม
มา โดย เฉ พะ ผู้ บริโภค ที่ ซื้อ โครงการ ไป แล้ว แต่ กลับ โอน



เศรษฐกิจพอเพียง
“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัสชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตแก่ พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ
ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชนจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปใน ทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจเพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์ ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผลรวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควรต่อการมีผลกระทบใด ๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ทั้งนี้จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่ง ในการนำวิชาการต่าง ๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการทุกขั้นตอน และขณะเดียวกันจะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติโดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐนักทฤษฎีและนักธุรกิจในทุกระดับให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริตและให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวางทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี
ประมวลและกลั่นกรองจากพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เรื่องเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งพระราชทานในวโรกาสต่าง ๆ รวมทั้งพระราชดำรัสอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำไปเผยแพร่ เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๔๒ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของทุกฝ่ายและประชาขนโดยทั่วไป
ข้อมูลจากคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
http://www.eto.ku.ac.th/s-e/mean-th.html